top of page

2. การประมวลผลแบบ Vector
                การประมวลผลแบบ Vector เป็นภาพแบบเวกเตอร์ หรือ Object-Oriented Graphics หรือเรียกว่า เป็นรูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่มีลักษณะของการสร้างจากคอมพิวเตอร์ที่มีการสร้างให้แต่ละส่วนของภาพเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็น เส้นตรง รูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งมีทิศทาง การลากเส้นไปในแนวต่าง ๆ จึงเรียกประเภท Vector Graphic หรือ Object Oriented  ภาพเวกเตอร์นี้ มีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนแปลงขนาด  โดยมีความละเอียดของภาพไม่ลดลง ภาพสามารถ เปลี่ยนแปลงหรือย้ายได้และมีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่าพวกบิตแมป 
                ในระบบวินโดวส์ ไฟล์รูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีนามสกุลเป็น .EPS , .WMF, .CDR, .AI , .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น และโปรแกรมที่ใช้สร้างก็คือ โปรแกรมประเภทวาดรูป (Drawing          Program) เช่น CorelDraw หรือ  AutoCAD ส่วนบนเมคอินทอช (Macintosh) ก็ได้แก่ โปรแกรม IIIustrator และ  Macromedia Freehand  หรือ ภาพ .wmf  ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office 
                ภาพที่เป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก มีลักษณะที่มีจุดเด่นจุดด้อยเปรียบเทียบกันระหว่างบิตแมป กับพวกเวกเตอร์ ซึ่งต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขนาดของรูป พวกบิตแมปเป็นภาพที่มีจำนวนพิกเซลคงที่ หากนำมาขยายมาก ๆ   ภาพจะลดความละเอียดลง ส่วนภาพเวกเตอร์สามารถขยายขนาดได้โดยที่ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลงแต่เรื่องของความสวยงาม พวกบิตแมปสามารถตกแต่งความละเอียดสวยงามได้ดีกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานหรือลักษณะของงานที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์แสดงผลไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์หรือเลเซอร์ รวมทั้งจอภาพ จะเป็นการแสดงผลแบบ Raster Devices หรือแสดงในรูปของบิตแมป คือ อาศัยการรวมกันของพิกเซลออกมาเป็นรูป แม้ว่าจะเป็นกราฟิกที่สร้างเป็นแบบเวกเตอร์แต่จะมีการเปลี่ยนเป็นการแสดงผลแบบบิตแมปหรือเป็นพิกเซลเมื่อจะพิมพ์หรือแสดงภาพบนหน้าจอ

 

 

 

 

 

 

กลับ

 

bottom of page